ฟันคุด ปัญหาเรื้อรังในช่องปาก
ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติในช่องปาก อาจจะโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ เรียกว่า ฟันคุด พบบ่อยที่ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง โดยปกติแล้วฟันซี่นี้ควรจะขึ้นในช่วงอายุ 18 - 25 ปี ฟันคุดนอกจากจะ
ลดความสุขในการกินอาหารและการใช้ชีวิตประจำวัน ยังอาจกดทับเส้นประสาทของขากรรไกรทำให้มีอาการปวด อาจกินพื้นที่ของฟันซี่อื่นทำให้ฟันที่ขึ้นใหม่บิดซ้อน เป็นสาเหตุหลักของฟันผุและเหงือกอักเสบหรือติดเชื้อ เพราะเป็นที่กักเก็บเศษอาหาร รวมทั้งมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ (CYST) ในกระดูกขากรรไกรและอาจกลายพันธุ์ เป็นเนื้อร้ายได้อีกด้วย เพื่อป้องกันปัญหาทั้งปวงทันตแพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดฟันคุดออก
ฟันคุด มีทั้งหมด 4 ชนิด
1. ฟันคุดชนิดล้มไปด้านหน้า (mesioangular impaction)
เป็นกรณีพบมากที่สุด (44%)
หมายถึง ฟันนั้นหักเป็นมุมไป ด้านหน้า ไปทางด้านหน้าของปาก
2. ฟันคุดชนิดตั้งตรง (vertical impaction, 38%)
หมายถึง ฟันงอกไม่พ้นขอบเหงือก
ทั้งหมด
3. ฟันคุดชนิดหันส่วนครอบฟันออก (distoangular impaction, 6%)
หมายถึง ฟันงอไปข้างหลัง ไปทาง ด้านหลังของปาก
4. ฟันคุดชนิดวางตัวในแนวราบ (horizontal impaction)
เป็นกรณีพบน้อยที่สุด (3%) หมายถึง ฟันกรามทำมุม 90 องศาไปด้านข้าง เข้าไปในรากของ ฟันกรามซี่ที่สอง
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
ทันตแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่เพื่อระงับความรู้สึก หลังจากนั้นก็จะเปิดเหงือกให้เห็นฟัน แล้วใช้เครื่องกรอตัดฟันออกมา ล้างทำความสะอาดและเย็บแผลปิด ผู้ป่วยสามารถกลับไปนอนพักฟื้นที่บ้านได้ อาการที่พบได้หลังการผ่าตัดฟันคุดคือ จะปวดและบวมบริเวณแก้มด้านที่ทำผ่าตัด 2-3 วัน อ้าปากได้น้อยลง อาการนี้จะบรรเทาลงได้หากรับประทานยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดฟันคุด
1.กัดผ้าก๊อซนาน 1 ชั่วโมง กลืนน้ำลายตามปกติ
2.ห้ามบ้วนเลือดและน้ำลาย เพราะอาจทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้
3.หลังคายผ้าก๊อซแล้ว ถ้ามีเลือดซึมจากแผลผ่าตัด ให้ใช้ผ้าก๊อซที่สะอาดกัดใหม่อีกประมาณครึ่งชั่วโมง
4.ประคบน้ำแข็งบริเวณแก้ม เฉพาะวันที่ทำผ่าตัด
5.รับประทานอาหารอ่อน
6.รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์สั่ง
7.งดออกกำลังกาย หรือ เล่นกีฬา
8.แปรงฟันทำความสะอาดในช่องปากตามปกติ
9.ตัดไหมหลังผ่าตัด 7 วัน
10.หากมีปัญหาหรือผลแทรกซ้อนเกิดขึ้น กลับมาพบทันตแพทย์ได้ก่อนวันนัด